Zenyum สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน IDEM 2022
ผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้ร่วมสัมผัสกับบรรยากาศความแตกต่างของ Zenyum ที่งานนิทรรศการและการประชุมทางทันตกรรมชั้นนำของ APAC ไม่ว่าคุณจะเป็นทันตแพทย์ ลูกค้า หรือผู้ที่ต้องการเป็นพันธมิตรกับเรา Zenyum สามารถช่วยยกระดับรอยยิ้มของคุณได้ งานได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 7-9 ต.ค. Zenyum ได้เข้าร่วมและนำเสนอ Smile Cosmetic ร่วมกับแบรนด์ชั้นนำที่งาน IDEM ซึ่งเป็นงานนิทรรศการและการประชุมทางทันตกรรมชั้นนำของ APAC สำหรับการจัดแสดงที่ IDEM ครั้งแรกของเรา เราได้ออกแบบการจัดบูธที่มีสีสัน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม และช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดความแตกต่างของ Zenyum ให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมทุกคนที่เดินผ่านห้องโถงของ Sands Expo and Convention Center ที่ Marina Bay Sands คุณยังไม่เชื่อใช่ไหมล่ะ? เชิญรับชมภาพบูธที่น่าตื่นตาตื่นใจของเรา! เรายินดีให้ทันตแพทย์ พาร์ทเนอร์ และลูกค้า ได้สัมผัส เข้าถึงและร่วมมีประสบการณ์กับผลิตภัณฑ์ของเรา ที่ IDEM เราให้ความความสำคัญกับระบบการทำงานกับพาร์ทเนอร์และทันตแพทย์ ด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์การจัดตารางนัดหมายที่เป็นของเราโดยเฉพาะ คือ ClinicCloud และทำให้มองเห็นภาพรวมของแผนการรักษากับ Zenyum จากวิธีที่เราทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ของเราไปจนถึงวิธีที่เรานำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยให้ผู้คนยิ้มได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจากทั่วโลกจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าเรากำลังเริ่มต้นภารกิจในการทำให้เอเชีย #SmileMore […]
Zenyum ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในรายงาน ‘Emerging Giants in Asia Pacific’ ของ KPMG และ HSBC
คุณอาจเคยได้ยินหรือไม่เคยได้ยิน แต่ Zenyum ได้รับการพูดถึงในรายงานการศึกษาร่วมกันเรื่อง ‘Emerging Giants in Asia Pacific’ ของ KPMG และ HSBC หากคุณไม่ใช่คนที่ติดตามข่าวธุรกิจ – KPMG เป็นองค์กรระดับโลกเป็นมืออาชีพที่ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี ภาษี และเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ในรายงานของของ KPMG และ HSBC พวกเขาได้สัมภาษณ์ Julian Artopé ซึ่งเป็น CEO และผู้ร่วมก่อตั้งของ Zenyum เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zenyum นี่คือตัวอย่างคำถาม: ชื่อแบรนด์ Zenyum มาจากไหน? คำว่า ‘senyum’ หมายถึง ‘รอยยิ้ม’ ในภาษา Bahasa ซึ่งเป็นภาษาของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เราเพิ่ม ‘Z’ เพื่อทำให้แบรนด์ดูอ่อนเยาว์และโดดเด่น! อะไรคือความแตกต่างของ Zenyum กับแบรนด์คู่แข่ง? เรามักจะมีราคาย่อมเยามากกว่าแบรนด์ใหญ่ของสหรัฐฯ และเรามีรูปแบบการผ่อนชำระให้กับลูกค้า ผลิตภัณฑ์ของเราออกแบบมาสำหรับลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรามุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่สามารถคาดการณ์ได้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างไร? […]
ชีวิตเปลี่ยนไปเมื่อจัดฟันใสกับ Zenyum
การใส่อุปกรณ์จัดฟันแบบใสอาจทำให้คุณต้องเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ หรือปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของคุณ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับคู่หูใหม่ที่คุณขาดไม่ได้ และนี่คือการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เมื่อคุณเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyum ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย 1. ความรู้สึกไม่สบายจากการใส่อุปกรณ์จัดฟันชุดใหม่ ฉันยังได้เรียนรู้เคล็ดลับเกี่ยวกับการลดความรู้สึกไม่สบายตัวในช่องปากด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์จัดฟันในเวลากลางคืนและนอนหลับด้วยความเจ็บปวด เมื่อถึงเวลาที่ฉันตื่นขึ้นฟันของฉันก็มีเวลาที่จะชินกับอาการปวดได้บ้าง ในหัวข้อเกี่ยวกับความเจ็บปวด ฉันไม่จำเป็นต้องจัดการกับปัญหาทั่วไปที่เกิดจากการจัดฟันโลหะ เช่น แผลจากการเสียดสีของลวดหรือขอบคม – Joey Lee (Asiaone) มันเป็นเรื่องปกติที่จะประสบกับความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบายในช่วงสองสามวันแรกของการใส่อุปกรณ์จัดฟันชุดใหม่ ฟันและปากของคุณต้องการเวลาในการคุ้นเคยกับแรงกดใหม่ที่ใช้โดยอุปกรณ์จัดฟันเพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในตําแหน่งที่ตรงขึ้น ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป 2. ถอดอุปกรณ์จัดฟันแบบใสออกก่อนอาหารทุกมื้อ การจัดฟันแบบใสไม่ได้ช่วยให้ฉันลดน้ำหนักได้ ฉันคิดว่าฉันคงขี้เกียจเกินไปที่จะเอามันออกก่อนกิน ฉันต้องผอมแน่ๆ แต่ฉันคิดผิด แม้ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลและฉันก็ไปทานอาหารนอกบ้านบ่อยขึ้น การจัดฟันก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเพราะถอดและใส่อุปกรณ์กลับได้ง่าย – Katelyn Tan คุณต้องจำไว้ว่าให้ถอดอุปกรณ์จัดฟันแบบใสออกก่อนอาหารทุกมื้อและโชคดีที่การถอดอุปกรณ์จัดฟันแบบใสออก และใส่กลับเข้าไปใหม่ ทำได้ง่าย บางคนถึงกับลืมถอดออก เพราะแทบไม่รู้สึกว่ากำลังใส่อุปกรณ์อยู่ และอย่าลืมถอดออกหากคุณกำลังดื่มอย่างอื่นที่ไม่ใช่น้ำเปล่า ไม่เหมือนกับการจัดฟันแบบโลหะ คุณไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่เหนียว เพราะคุณถอดอุปกรณ์ออกก่อนจะกินอาหารอยู่แล้ว และคุณต้องใช้ไหมขัดฟันหลังทานอาหารเสร็จ ก่อนที่จะใส่อุปกรณ์จัดฟันแบบใสกลับเข้าไป 3. อัปโหลดรูปภาพอย่างสม่ำเสมอ คนไข้จะได้รับการตรวจสอบผ่านแอป Zenyum ซึ่งเราจะต้องอัปโหลดรูปฟัน ทุกๆ 10 วัน ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและการติดตามเครื่องมือจัดตำแหน่งอย่างเหมาะสม การใช้เทคโนโลยีนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่า ความคืบหน้าของคุณจะได้รับการตรวจสอบโดยไม่จำเป็นต้องให้คุณเดินทางไปที่คลินิกสุดยอดเลยใช่ไหม!” […]
IPR คืออะไร เจ็บไหมและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
หลายๆ คนไหนคงเคยได้ยิน การทำ IPR (Interproximal Reduction) ก่อน ทำการ จัดฟันใส มาอยู่บ้างแล้ว แต่มีใครทราบไหมว่า การทำ IPR คืออะไร ทำแล้วเจ็บไหม และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับ เทคนิค IPR (Interproximal Reduction) กันค่ะ IPR คืออะไร IPR (Interproximal reduction) คือ การลดขนาดของฟันด้านประชิด เป็นวิธีรักษาในกรณีที่คนไข้มีช่องว่างในการเรียงฟันไม่เพียงพอ เป็นเทคนิคที่นำมาใช้สำหรับการจัดฟัน โดยที่ทันตแพทย์จะทำการเพิ่มพื้นโดยการกรอฟันด้านข้างซึ่งเล็กมากเพียง 0.25 มิลลิเมตร เท่านั้น ปกติแล้วพื้นที่บริเวณด้านข้างของฟันมีความหนาถึง 2.5 มิลลิเมตร ด้วยขนาดที่เล็กมากๆ คุณจึงไม่จำเป็นต้องกังวลใดๆ การทำ IPR เป็นที่นิยมกว่าการถอนฟัน เนื่องจากทันตแพทย์สามารถควบคุมขนาดพื้นที่ ที่ต้องการ หากจำเป็นต้องใช้พื้นที่มากกว่าการกรอฟัน ทันตแพทย์ก็อาจเลือกทำการถอนฟันแทนได้ IPR มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ทันตแพทย์จะใช้อุปกรณ์ทันตกรรมขูดเคลือบฟันด้านข้างของคุณออก อีกทางหนึ่ง คือ ทันแพทย์ของคุณอาจจะทำการตะไบด้านข้างของฟัน คุณไม่ต้องตกใจหากคุณมองเห็นช่องว่างระหว่างฟันหลังจากทำ IPR […]
คิดไม่ตก.. จัดฟันก่อนหรือตัดแต่งเหงือกแก้อันไหนก่อนดี?
คนไข้ถามเข้ามาเยอะ ว่าจัดฟันอยู่ ตัดเหงือกได้มั้ย? “หมอก็จะตอบว่า ตัดได้ค่ะ อยู่ที่ปัญหาและความจำเป็นที่ต้องทำ” ทำไมตอนจัดฟัน เหงือกมักจะเยอะขึ้น? เพราะตอนจัดฟัน ถ้ามีการเคลื่อนฟัน ฟันเปลี่ยนตำแหน่ง เหงือกก็เปลี่ยนตาม โดยเฉพาะในคนไข้ที่ ฟันห่าง หรือฟันยื่นมากๆ เมื่อดึงฟันเข้ามาปิดช่องห่าง หรือปิดช่องที่ถอน ทำให้ความกว้างของช่วงฟันแคบลง แต่เนื้อเหงือกนั่นเหลืออยู่เท่าเดิม เหงือกจึงมีที่อยู่น้อยลง ก็เลยทำให้เหลือเหงือกที่ไม่ได้ใช้ มันก็ลงมาบังฟัน นั่นเอง บวกกับตอนจัดฟัน เครื่องมือนั่น ก็ระคายเคืองเหงือก อีกทั้งมีหินปูน หรือคราบพลัค ขึ้นได้ง่าย เลยทำให้มีเหงือกบวม เหงือกอักเสบง่ายกว่าภาวะปกติ นั่นเลยเป็นสาเหตุ ให้คนไข้ที่จัดฟันจำนวนหนึ่ง มีเหงือกเยอะขึ้นได้ ในช่วงจัดฟัน ประเมินฟันฟรีคลิก! ตัดเหงือกที่มาบังฟันในช่วงจัดฟัน ควรทำตอนไหนดี ? ถ้าจัดฟันใกล้จะเสร็จแล้ว และเหงือกนั่นไม่ได้รบกวนการใส่รีเทนเนอร์ ก็แนะนำรอให้ถอดก่อน ค่อยตัด เพราะจะดูแลง่ายกว่า แต่บางเคสก็จำเป็นต้องตัดในช่วงจัดฟันเลย ซึ่งอาจจะมีหลายสาเหตุ เช่น เหงือกบวม ทำให้ทำความสะอาดลำบาก เหงือกอักเสบ เหงือกรบกวนการจัดฟัน ทำให้ใส่เครื่องมือ หรือใส่ยางได้ยาก เหงือกเยอะ จนมีผลทำให้ใส่รีเทนเนอร์ไม่ได้ ต้องตัดก่อนใส่รีเทนเนอร์ เหงือกเยอะ เหงือกมาก […]
ฟันสบลึกคืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร การจัดฟันใสแก้ไขปัญหาได้หรือไม่?
ฟันสบลึกคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร สามารถแก้ไข้ด้วยการจัดฟันใสได้หรือไม่? ฟันสบลึก คือ ลักษณะของฟันที่ฟันบนมีลักษณะที่คร่อมฟันล่างมากเกินไป หรือกล่าวอีกทางหนึ่งได้ว่า ฟันล่างยื่นขึ้นไปด้านบนมากเกินไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ฟันบนจะคร่อมฟันล่างเพียงเล็กน้อย หากสังเกตจากปลายฟันหน้าบนและปลายฟันหน้าล่างเทียบกันแล้ว ปกติปลายฟันหน้าบนจะคร่อมปลายฟันหน้าล่าง 1-3 มิลลิเมตรจะถือว่าเป็นการสบฟันที่อยู่ในช่วงปกติ เริ่มต้นประเมินฟันฟรี ฟันสบลึกสาเหตุมาจากอะไร? การสบฟันลึกนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ ความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร พฤติกรรมการกลืนน้ำลาย หรือแม้กระทั้งการไม่ดูแลฟันน้ำนมดีเท่าที่ควร ก็สามารถส่งผลทำให้เกิดฟันสบลึกได้ เป็นต้น ซึ่งคนไข้แต่ละคน หรือแม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสังเกตภาวะฟันสบลึกได้เองโดยใช้ตัวเลขของการสบฟันปกติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น วิธีแก้ไขปัญหา ฟันสบลึก อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum การแก้ปัญหาการสบลึกของฟันถ้าหากเป็นกรณีที่มีสาเหตุมาจากฟัน ก็สามารถแก้ปัญหาโดยการจัดฟันได้ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากคนไข้เลือกที่จะจัดฟันใส โดยปกติแล้วการจัดฟันใสจะใช้เวลาเร็วกว่าจัดฟันแบบใส่ลวดประมาณ 3 เท่า ก็จะแก้ปัญหาการสบลึกได้เร็วขึ้น แต่ถ้าการสบลึกนั้นมีสาเหตุมาจากกระดูกขากรรไกร ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการผ่าตัดร่วมกับการจัดฟัน บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค เริ่มต้นจัดฟันใส เสริมความมั่นใจให้รอยยิ้ม ประเมินฟัน ฟรี!
เตรียมตัวจัดฟันต้องทำอะไรบ้าง เตรียมเงินเท่าไหร่?
เตรียมตัวจัดฟันต้องทำอะไรบ้าง ขั้นตอนไหนมีค่าใช้จ่าย ขั้นตอนไหนไม่มีค่าใช้จ่าย เคยไหมเวลาที่เราอยากจัดฟัน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง แล้วจัดฟันแบบไหนจะเหมาะกับเรา ค่าใช้จ่ายจะเกินงบไหม สารพัดคำถามที่เรากังวลใจเกี่ยวกับการจัดฟัน ซึ่งวันนี้หมอจะมาอธิบายการเตรียมตัวก่อนการจัดฟันกันนะครับ 1. เลือกการจัดฟันที่เหมาะสมกับเรา ก่อนอื่นเลยการเตรียมตัวจัดฟันคือ เราจำเป็นต้องสังเกตตัวเองก่อนว่าฟันของเรามีปัญหาอะไรบ้าง ทำไมถึงอยากจัดฟัน และอยากจัดฟันแบบไหน เช่น การจัดฟันเหล็ก การจัดฟันแบบใส เป็นต้น เพื่อที่เราจะได้หาข้อมูลเพิ่มเติมได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เนื่องจากการจัดฟันแต่ละแบบมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เช่น การมองเห็นอุปกรณ์จัดฟัน การทำความสะอาดฟันหลังเริ่มต้นจัดฟัน ความบ่อยในการพบหมอ ความสะดวกสบายในการจัดฟันและค่าใช้จ่าย เป็นต้น แต่ถ้านึกไม่ออกจริงๆ ว่าจัดฟันแบบไหนดี แนะนำว่าลองปรึกษาคุณหมอดูก่อน เผื่อคุณหมอจะได้แนะนำว่าเราเหมาะกับแบบไหนครับ (ส่วนใหญ่ขั้นตอนนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ) การจัดฟันเหล็ก อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum การจัดฟันใสของเซนยุม มีบริการพิเศษอีกช่องทางหนึ่ง คือเราสามารถส่งรูปฟันให้คุณหมอช่วยประเมินได้ ว่าสามารถจัดฟันใสได้หรือไม่ เพียงแค่ใช้กล้องมือถือของเราถ่ายเองได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปที่คลินิก ประเมินฟันฟรีคลิกเลย 2. หาคลินิกจัดฟันและปรึกษาจัดฟันกับคุณหมอ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกคลินิกที่สะอาดได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ มีตัวอย่างเคสรีวิวการจัดฟัน การเดินทางสะดวก มีที่จอดรถเพียงพอ และ เวลาที่เราสะดวกตรงกับคุณหมอ จากนั้นจึงทำนัดเพื่อปรึกษาเรื่องจัดฟันกับคุณหมอและคุณหมอจะได้ตรวจฟันอย่างละเอียด โดยขั้นตอนนี้เราสามารถแจ้งคุณหมอได้เลยว่าเราอยากแก้ตรงไหน ตรงไหนเป็นจุดกังวลมากที่สุด […]
Zenyum Thailand ได้เข้าหารือร่วมกับทันตแพทยสภา ในหัวข้อ “Clear Aligner ถูกวิชาการ ถูกกฎหมาย และถูกใจผู้บริโภค ต้องทำอย่างไร”
Zenyum Thailand ได้เข้าหารือในหัวข้อ “Clear Aligner ถูกวิชาการ ถูกกฎหมาย และถูกใจผู้บริโภค ต้องทำอย่างไร” ร่วมกับทันตแพทยสภา สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และบริษัทผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จัดฟันใส 13 บริษัทในประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2565 เพื่อจัดทำแนวทางและข้อเสนอเกี่ยวกับ “การรักษาด้วยอุปกรณ์จัดฟันใส” ภายหลังเป็นที่นิยมและมีคำถามจากประชาชนถึงความปลอดภัย แนวทางและข้อสรุปสาระสำคัญจากการประชุม มี 5 ข้อที่ทางทันตแพทยสภาในสรุปไว้ในการแถลงข่าว ซึ่งเซนยุม ในประเทศไทยได้ดำเนินการการจัดฟันใสตามแนวทางที่พูดคุยหารือกัน ทางเซนยุมมีการขออนุญาตการทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด โดยมีการจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ รวมถึงการขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์จัดฟันใส นอกเหนือจากการจดทะเบียน ทางด้านทันตแพทย์พาร์ทเนอร์กับ Zenyum จะต้องผ่านการอบรมก่อนรับเคสจริง รวมไปถึงขั้นตอนการเก็บข้อมูลช่องปากที่ทำโดยทันตแพทย์ คลินิกพาร์ทเนอร์ในไทย ที่มีการสแกนฟันรวมไปถึงออกแบบแผนการแก้ไขปัญหาฟันก่อนส่งไปให้คุณหมอที่ประเทศสิงคโปร์เพื่อเป็น second opinion ในการออกแบบแผนการรักษา เมื่อคนไข้ได้รับแผนการรักษาแบบ 3D ที่ทางทันตแพทย์อนุมัติแล้วถึงจะตัดสินใจชำระเงิน ซึ่งขั้นตอนการออกแบบแผนการรักษานั้นไม่มีค่าใช้จ่าย และจึงผลิตอุปกรณ์ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ เมื่ออุปกรณ์มาถึงจะถูกจัดส่งไปที่ทางทันตแพทย์เจ้าของเคสที่จะเป็นผู้สวมใส่อุปกรณ์จัดฟันใสให้กับทางคนไข้ ประเมินฟันฟรี! และที่สำคัญหลังจากรับอุปกรณ์ทางเซนยุมมีทีม […]
ถอนฟันกรามอันตรายไหมและจะส่งผลอะไรหรือเปล่า?
หากเราถอนฟันกรามทิ้งจะเป็นอันตรายไหมและจะส่งผลเสียในระยะยาวหรือไม่? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฟันกรามนั้นมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งถ้าหากเราถอนฟันกรามไปเราก็จะสูญเสียฟันที่มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารไปด้วย ซึ่งตำแหน่งฟันกรามที่คนมักจะสูญเสียไปมากที่สุดนั่นคือฟันกรามใหญ่แท้ซี่แรก ทั้งนี้ เนื่องจากฟันซี่นี้ขึ้นตอนอายุ 6 ขวบ ซึ่งในผู้ปกครองบางท่าน ก็อาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าฟันซี่นั้นของลูกเป็นฟันแท้แล้ว จึงไม่ได้ดูแลตามความเหมาะสม แต่ที่ถูกที่ควรแล้วผู้ปกครองควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกๆ ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ต่อมาเมื่อฟันน้ำนมขึ้นก็จำเป็นต้องดูแลไม่ให้ผุ เพื่อฟันแท้จะได้ขึ้นอย่างสมบูรณ์ต่อไป ถ้าหากฟันกรามถูกถอนไปแล้วนั้น ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันทดแทนหรือจัดฟันปิดช่องว่างนั้น ประเด็นสำคัญประการหนึ่งเลยคือ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ฟันกรามมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ถ้าสูญเสียไป จะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลง ส่งผลให้สุขภาพร่างกายโดยร่วมแย่ลงได้ ประเมินฟันฟรี! ประเด็นต่อมา คือ ถ้าหากมีช่องว่างของฟันภายในช่องปาก เมื่อปล่อยทิ้งไปสักระยะหนึ่ง ฟันจะเริ่มขยับเข้าหาช่องว่างนั้น อาจเรียกง่ายๆ ว่า ฟันล้ม ทำให้ฟันมีการสบกระแทก ฟันสึก มีโรคเหงือกตามมา หรือแม้กระทั่งในบางรายอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่อื่นๆ ตามไปด้วย มีกรณีที่แนะนำให้ถอนฟันหรือไม่? ในกรณีที่คนไข้มีฟันซ้อนเกค่อนข้างมาก จนไม่มีพื้นที่ให้ฟันในช่องปากเคลื่อนที่เพื่อจัดเรียงตัว ก็มีความจำเป็นที่ต้องถอนฟันบางซี่ออกเพื่อให้ฟันมีพื้นที่ในการขยับจัดเรียงตัว โดยทั่วไปแล้วจะถอนฟันกรามน้อยซี่แรก (ฟันหลังเขี้ยว) ซึ่งจะถอนฟันซี่ใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของทันตแพทย์แต่ละท่าน แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง มีวิธีดูแลรักษาอย่างไรบ้าง? สำหรับการดูแลรักษา ก็จะเป็นการทำความสะอาดช่องปากปกติที่ทำกันทุกวัน คือ […]
จัดฟันหรือเสริมจมูก ทำอะไรก่อนดี?
ถ้าหากต้องการจัดฟันพร้อมกันกับเสริมจมูก ควรเลือกทำอันไหนก่อน หรือสามารถทำพร้อมกันได้ไหม? โดยปกติแล้วการจัดฟันกับการเสริมจมูกนั้นสามารถทำไปพร้อมๆ กันได้ แต่ส่วนตัวจะไม่แนะนำให้ทำพร้อมกัน เนื่องจากตำแหน่งของการเสริมจมูกหลังจากแผลหายสมบูรณ์แล้วนั้น เป็นสิ่งที่คาดการณ์ในตำแหน่งที่แม่นยำได้ยาก ซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนการรักษาจัดฟัน ฉะนั้นความคิดเห็นส่วนตัว แนะนำว่าให้เราชั่งใจดูว่าเราอยากแก้ปัญหาในเรื่องไหนก่อน แล้วทำการรักษาในเรื่องนั้นก่อน เนื่องจากการรักษาทั้งการเสริมจมูกและการจัดฟันในปัจจุบันใช้เวลาไม่ได้นานมาก ยิ่งในปัจจุบันมี เทคโนโลยีในการจัดฟันใส ทำให้การรักษาด้วยการจัดฟันนั้นใช้ระยะเวลาสั้นลงไปอีก ในกรณีที่แก้ปัญหาไม่มาก อาจจะใช้เวลาในการทำการรักษาโดยการจัดฟันใสไม่ถึง 6 เดือนด้วยซ้ำ ทำให้เวลาไม่ใช่เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่จะเสริมจมูกหรือจัดฟันก่อนกัน อยากให้นึกถึงปัญหาที่เราอยากแก้ก่อนจริงๆ แล้วเลือกลำดับการรักษาตามปัญหานั้นๆ ประเมินฟันฟรี! อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum มีข้อควรระวังอะไรไหม? ถ้าจะพิจารณาในส่วนของข้อควรระวังในการรักษาจัดฟันกับการเสริมจมูกที่เกี่ยวข้องกันนั้น หลักๆ ก็จะมีเรื่องการวางแผนการรักษา เนื่องจากหากเรามาวางแผนการรักษาในการจัดฟันก่อนการเสริมจมูก แผนการรักษานั้นอาจจะเข้ากันพอดีกับทรงของจมูกของคนไข้ในตอนนั้น ถ้าหากไปเสริมจมูกอาจทำให้ฟันดูงุ้มไม่สวยงามได้ หรือถ้าเราไปเสริมจมูกมาแล้วมาวางแผนการจัดฟันในช่วงที่จมูกยังไม่หายดี แผนการจัดฟันนั้นอาจเข้ากับจมูกตอนนั้น ซึ่งจมูกอาจจะบวมอยู่ แต่เมื่อแผลของการเสริมจมูกหายดีแล้ว ฟันที่จัดเสร็จอาจจะดูยื่นกว่าที่ควรจะเป็นได้ ฉะนั้นส่วนตัว จึงแนะนำให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจะดีกว่าครับ บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค เริ่มต้นจัดฟันใส เสริมความมั่นใจให้รอยยิ้ม ประเมินฟัน ฟรี!
ฟันล้มหลังจัดฟัน ทำยังไงดี?
สาเหตุของการเกิดฟันล้มหลังจากจัดฟัน เกิดจากอะไร? สำหรับสาเหตุของการเกิดฟันล้มหลังจากจัดฟันนั้น ถ้าให้พูดเข้าใจได้ง่ายๆ เลย คือ ไม่ใส่รีเทนเนอร์หรือเครื่องมือคงสภาพฟันนั้นเอง ก่อนอื่นเลยต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฟันในตำแหน่งที่ก่อนจัดฟันนั้น เป็นตำแหน่งของฟันตามธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสมดุลกันระหว่างแรงทุกแรงที่เกิดขึ้นในช่องปาก เช่น แรงจากการขยับลิ้น แรงจากริมฝีปาก เป็นต้น การจัดฟันหรือการเคลื่อนฟันนั้นเป็นการฝืนธรรมชาติ ฉะนั้นเมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว เราจึงจำเป็นต้องใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือรีเทนเนอร์ไว้ เพื่อให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ ไม่เช่นนั้น ฟันจะเคลื่อนที่ไปตำแหน่งที่แรงสมดุลกันนั้นเอง ซึ่งอาจจะเป็นตำแหน่งที่ฟันซ้อนเก หรือฟันยื่นก็เป็นได้ ประเมินฟันฟรี! ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอะไรหรือไม่? การปล่อยให้ฟันล้มหลังจากการจัดฟันดำเนินต่อไป อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ฟันก็จะเคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่แรงสมดุลกัน ซึ่งเป็นการยากที่จะบอกว่าตำแหน่งนั้นคือตำแหน่งใด แต่ที่บอกได้แน่นอนคือว่า โดยมากแล้วจะไม่ใช่ตำแหน่งที่ฟันเรียงสวยหลังจากการจัดฟันเสร็จ ต้องรีบพบทันตแพทย์หรือไม่ และมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร? การแก้ปัญหาฟันล้ม หลังจากการจัดฟันนั้น ยิ่งตัวคนไข้เองสังเกตได้เร็ว หรืออาจจะถูกทันตแพทย์ทักเมื่อไปขูดหินปูนทำความสะอาดฟันก็ตาม และรีบแก้ปัญหา การแก้ปัญหานั้นก็จะง่ายกว่าปล่อยไว้เป็นเวลานาน คนไข้อาจจะสูญเสียเนื้อฟันน้อยลง เนื่องจากหากเกิดฟันล้มลักษณะซ้อนเกในกรณีคนไข้เคยถอนฟันไปตอนจัดฟันครั้งแรกแล้วนั้น การแก้ปัญหาฟันล้มจำเป็นจะต้องกรอเนื้อฟันเพื่อให้มีพื้นที่ให้ฟันเคลื่อนที่ อุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum วิธีการแก้ปัญหาฟันล้ม หลังจากการจัดฟันก็ คือการจัดฟันอีกครั้ง ซึ่งเป็นวิธีการปกติทั่วไปที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาฟันล้ม และในปัจจุบันมีเทคโนโลยีจัดฟันใส ทำให้การจัดฟันครั้งที่สองหรือการจัดฟันเพื่อแก้ปัญหาฟันล้มหลังจากจัดฟันไปแล้วนั้นสะดวกมากขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้วคนไข้ที่เคยจัดฟันมาแล้วนั้นจะเคยจัดฟันแบบเหล็กติดแน่นเมื่อตอนเด็กๆ เมื่อโตขึ้นเข้าวัยทำงานเกิดฟันล้ม แต่ไม่สะดวกที่จะติดเหล็กแล้ว การจัดฟันใส ก็จะเข้ามาแก้ปัญหาและตอบโจทย์ในเรื่องนี้ […]
จัดฟันตอนอายุ 30+ ขึ้นไปได้ไหม?
หากอยากจัดฟันตอนอายุ 30+ สามารถทำได้ไหม มีข้อกังวลตรงไหนไหม และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? สำหรับการจัดฟันตอนอายุ 30+ ขึ้นไปนั้น สามารถทำได้ ไม่ได้มีปัญหาหรือข้อกังวลอะไรมากนัก แต่สิ่งที่ต้องทราบเบื่องต้นก็คือ เมื่อเราอายุมากขึ้นกระดูกจะมีความแข็งมากกว่าตอนวัยรุ่น ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของฟันนั้นจะช้ากว่าตอนวัยรุ่น ซึ่งหมายความว่าการจัดฟันจะต้องใช้เวลานานขึ้นเมื่อเทียบกับตอนวัยรุ่น รวมถึงการเกิดเหงือกร่นระหว่างจัดฟัน หรือหลังจัดฟันเสร็จ ทั้งที่ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการรักษาความสะอาด และสุขภาพช่องปากของแต่ละท่านด้วย ประเมินฟันฟรี! เข้าพบทันตแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพช่องปากโดยรวม การเตรียมตัว สำหรับผู้ที่ต้องการจัดฟันที่มีอายุ 30+ ขึ้นไป จะไม่ได้แตกต่างจากช่วงอายุอื่น กล่าวคือ เมื่อเข้าพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จัดฟันจะทำการตรวจสุขภาพช่องปากโดยรวม และวางแผนการรักษาเบื่องต้น จากนั้นถ้าหากคนไข้จำเป็นที่จะต้องมีการอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน หรือผ่าฟันคุดก่อนการจัดฟัน ก็ควรทำให้เรียบร้อยก่อน เนื่องจากถ้าหากจัดฟันแบบติดเหล็กจะส่งผลให้ฟันผุหรือเหงือกอักเสบง่ายขึ้นยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากจัดฟันแบบใส การจัดฟันแบบใสเป็นการเก็บข้อมูลและทำแบบจำลองจากข้อมูลของฟันที่เก็บข้อมูลไป ณ วันเริ่มต้น ฉะนั้นการทำหัตถการอื่นๆ ภายหลังจากการเก็บข้อมูลไปแล้ว อาจส่งผลให้ชิ้นงานจัดฟันใสใส่ไม่ตรงตำแหน่งที่ควรจะเป็น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดฟันลดลง และอาจจำเป็นต้องเก็บข้อมูลและเริ่มวางแผนการรักษาใหม่ บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค บทความโดย ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค […]