ฟันผุเกิดจากอะไร?

16 มีนาคม 2023

ฟันผุเกิดจากอะไร

ที่จริงแล้วฟันผุเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกันนะครับ ปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัยหลักๆ ก็คือ ปัจจัยของการเกิดโรคฟันผุเอง ปัจจัยที่มาจากสิ่งแวดล้อมภายในช่องปาก และปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมการเกิดฟันผุ (ตามแผนภูมิจากงานวิจัยของ Robert H Selwitz และคณะในปี 2007)

จากแผนภูมิ หากเราพิจารณาในวงสีฟ้าซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดฟันผุนั้น จะเห็นได้ ประการแรกคือตัวฟันของเราเอง ว่ามีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้เคลือบฟันหรือตัวฟันไม่แข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก ก็จะมีความทนแต่ฟันผุแตกต่างกันออกไป

วงสีฟ้าต่อมาคือเรื่องของอาหาร ซึ่งจะแยกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีกคือ ปริมาณของอาหารที่บรโภคเข้าไป ส่วนประกอบของอาหารนั้นๆ และความถี่ให้การรับประทานอาหารขอแต่ละคน เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดฟันผุได้

ต่อมาเป็นเรื่องของเชื้อโรคที่เกาอยู่บริเวณฟัน การแปรงฟันที่มีความจำเป็นต้องแปรงทุกวันนั้นก็เป็นเพราะว่าเราจำเป็นต้องกำจัดเชื้อแบคที่เรียที่เกาะตัวเป็น biofilm หรือคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันนั่นเอง ซึ่งถ้าเราทำความสะอาดได้ทุกวันอย่างทั่วถึงและถูกวิธี เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ก็จะไม่มีการสะสม ไม่เกิดครอบจุลินทรีย์รวมถึงจะไม่พัฒนาไปเป็นหินปูนอีกด้วย

วงสุดท้ายคือเรื่องของเวลา ซึ่งเป็นเวลาที่แบคทีเรียคงอยู่บนผิวฟันซี่นั้นๆซึ่งต้องนานมากพอที่แบคทีเรียจะย่อยสลายผิวฟันและเนื้อฟัน ซึ่งจะกลายเป็นฟันผุต่อมานั่นเอง

จะเห็นได้ว่าใน 4 ปัจจัยนี้มีเพียงหนึ่งปัจจัยเท่านั้นที่เราไม่สามารถควบคุมได้ นั่นก็ คือ ฟันของเราที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด หรือเป็นกระบวนการในการเจริญเติมโตของร่างกายของเราที่จะส่งผลให้ฟันของเรานั้นแข็งแรงหรือไม่แข็งแรง ในส่วนอีก 3 ปัจจัย ได้แก่ อาหาร แบคทีเรีย และเวลา เป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ทั้งหมด ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ฟันผุ เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้

ฟันผุร้ายแรงแค่ไหน

ในกระบวนการการเกิดฟันผุนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มจากด้านนอกตัวฟัน กล่าวคือ ด้านในช่องปากและเข้าไปหาด้านในของตัวฟัน

  • ในระยะแรกที่ฟันเริ่มผุ ฟันอาจเป็นเพียงด่างขาวซึ่งแสดงถึงการสูญเสียแคลเซียมของตัวฟันเท่านั้น อาจจะยังไม่มีสีดำ หรือเป็นร่องให้เห็น ในระยะนี้ถ้าเราตั้งใจทำความสะอาดให้ดีขึ้น ให้ทั่วถึงขึ้น ก็อาจจะเพียงพอต่อการยับยั้งการเกิดฟันผุรุกราม

     

  • ในระยะต่อมา ถ้าหากว่าฟันเริ่มเป็นรู ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่ไปพบทันตแพทย์ก็จะไม่ทราบกัน เนื่องจากว่าจะไม่มีอาการอะไร ที่เป็นเช่นนั้นก็เป็นเพราะว่าฟันเพิ่งผุในชั้นของเคลือบฟัน ซี่งเป็นชั้นที่ไม่มีเส้นประสาท แต่เป็นชั้นที่แข็งที่สุดของตัวฟัน ถ้าผุในชั้นนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณารอยโรคของทันตแพทย์อีกทีว่าควรอุดหรือควรแนะนำให้คนไข้ทำความสะอาดเพื่อหยุดการดำเนินต่อของโรค

  • ต่อมาถ้าฟันผุมากขึ้นจะเข้าไปถึงชั้นเนื้อฟัน ซึ่งชั้นนี้จะเข้าใกล้โพรงประสาทฟันมากขึ้น เราอาจจะมีอาการเสียวฟันหรือปวดฟันเล็กน้อยเกิดขึ้นได้ ซี่งอาการก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนสามารถทนความเจ็บปวดได้แค่ไหน บางคนสามารถทนได้น้อยก็จะมีอาการเร็ว มีอาการชัด บางคนทนได้มากก็อาจจะไม่มีอาการเลยก็ได้ การรักษาในขั้นนี้ก็มีความจำเป็นต้องอุดฟัน แต่สิ่งที่หลายคนยังเข้าใจผิดคือการอุดฟันไม่ใช่แค่เห็นช่องแล้วอุดเข้าไปได้ แต่ทันตแพทย์มีความจำเป็นต้องเอาฟันที่ผุออกก่อน ซึ่งบริเวณฟันที่ผุนั้นจะมีเชื้อโรคอยู่ ในกระบวนการเอาฟันผุออกนั้น ในบางรายก็อาจจะมีอาการเสียวฟันหรือปวดฟันร่วมด้วยได้ครับ

  • ในระยะฟันผุขั้นสุดท้ายคือฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันไปแล้ว ในฟันผุขั้นนี้จะมีสามารถอุดได้แล้ว ในความหมายของคำว่าไม่สามารถอุดได้ก็คือจำเป็นต้องมีการรักษาเพิ่มเติม นั่นก็คือต้องมีการรักษารากฟันก่อนทำการบูรณะฟัน ซึ่งการบูรณะฟันหลังจากการรักษารากฟันนั้น การอุดฟันเพื่อปิดช่องว่างอาจมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ อาจมีความจำเป็นที่จะต้อง ทำเดือยฟัน และครอบฟันตามมา

จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าฟันผุนั้นเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ฟันของเราเป็นสิ่งที่สามารถดูแลรักษาได้ ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งมีสุขภาพช่องปากที่ดี รวมไปถึงประหยัดเงินด้วย ถ้าหากเปรียบเทียบการไปขูดหินปูนหรืออุดฟันทุกๆ 6 เดือน อาจจะมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 2,000 บาท ในขณะที่ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ แล้วจำเป็นต้องรักษารากฟัน ทำเดือยฟัน ทำครอบฟัน ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 20,000 บาทก็ได้ อย่างไรก็ดีหมอก็ยังคงแนะนำให้พบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและตรวจฟันทุกๆ 6 เดือนนะครับ

ขอบคุณรูปภาพจาก  https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0140673607600312

หมอไกด์

บทความโดย

ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์
ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค

หมอไกด์

บทความโดย

ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์
ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Save 15% off* your first purchase. Hurry, this deal ends soon!

Be the first to know about exclusive offers, and more.

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!

This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.