ปวดฟันเกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ปวดฟันเบื้องต้น ที่สามารถทำได้ทันที | Zenyum TH

2 ธันวาคม 2021

ผู้หญิงทำท่าปวดฟัน

ปวดฟันเกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ปวดฟันเบื้องต้น ที่สามารถทำได้ทันที

ปวดฟันทำยังไงดี?….. อาการปวดฟันเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน หากเพื่อนๆมีอาการปวดฟันอยู่ละก็ ลองมาทำความเข้าใจ หาสาเหตุที่ทำให้เราปวดฟัน และวิธีแก้ปวดฟันเบื้องต้นที่จะช่วยระงับอาการปวดฟันก่อนที่จะไปพบทันตแพทย์

อาการปวดฟัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทหลัก ๆ

ประเภทแรกเป็นการปวดฟันแบบเสียวจี๊ดๆ

อาการประเภทนี้จะมักจะรู้สึกปวดเฉพาะเวลากินของเย็น ของหวาน และจะหายไปเมื่อหยุดกินอาหารดังกล่าวภายในไม่กี่นาที ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากฟันผุหรือฟันบิ่นจนถึงเนื้อฟันชั้นใน จึงทำให้ความเย็นหรือแรงจากการเคี้ยวอาหารมีโอกาสกระตุ้นเส้นประสาทที่อยู่ในโพรงประสาท

ประเภทสองเป็นการปวดฟันแบบเป็นจังหวะตุ้บๆ

อาการประเภทนี้จะเมื่ออยู่เฉยๆก็จะรู้สึกปวดได้ หรืออาจปวดมากขึ้นเวลากินของเย็นหรือของร้อน หรือเวลาเคี้ยวอาหาร และจะไม่หายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารประเภทดังกล่าวพร้อมกับการรับประทานยาแก้ปวด

อย่างไรก็ตามเมื่อมีอาการปวดฟันเกิดขึ้นไม่ว่าจะปวดแบบไหน ก็ควรรีบพบทันตแพทย์ อย่าคิดว่าปวดฟันจะไม่ทำให้เสียชีวิต เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อจนเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้เช่นกัน

ปวดฟันเกิดจากอะไร

สาเหตุของอาการปวดฟันมักเป็นไปได้หลายอย่าง เป็นไปได้ทั้งปัญหาของฟันโดยตรงหรืออาจจะไม่ได้เกี่ยวกับฟันและช่องปากของเราเลยก็เป็นได้ สาเหตุของอาการปวดฟันที่พบทั่วไปมีดังนี้

  • ฟันผุ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ปวดฟัน เนื่องจากมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ในรูที่ผุนั้น มักมีอาการเสียวฟันเวลาดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น และขณะเคี้ยวอาหาร
  • ฟันคุด ทำให้เจ็บปวดได้เช่นกันเพราะฟันเอียงไปดันฟันข้างเคียงและมักมีเศษอาหารไปตกค้างจนอาจเกิดหนองได้
  • ฟันร้าวหรือฟันแตก ทำให้ความเย็นหรือความร้อนส่งถึงโพรงประสาทฟันและทำให้เกิดอาการปวดฟันได้
  • ฟันสึก ทำให้เกิดอาการเสียวฟันเป็นครั้งคราว ถ้าฟันสึกจนถึงชั้นโพรงประสาทฟันก็จะทำให้ฟันตายและอาจต้องถอนฟันในที่สุด
  • ฟันขึ้นในวัยเด็ก ในขณะฟันขึ้นอาจมีเหงือกอักเสบร่วมด้วย แต่จะหายไปเองเมื่อฟันโผล่พ้นเหงือกแล้ว
  • โรคเหงือกอักเสบ ทำให้เหงือกแดงช้ำ มักมีสาเหตุมาจากคราบหินปูน มีอาการปวดหนึบ ร่วมกับแปรงฟันมีเลือดออก 
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน มักเป็นผลจากฟันที่ผุลึกหรือแตกถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟันขึ้นมาได้โดยไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้น และจะมีอาการปวดฟันมากและปวดอยู่นาน
  • ปลายรากฟันอักเสบเป็นหนอง เกิดจากการลุกลามของการอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นหนองบริเวณปลายรากฟัน จะมีอาการเหงือกบวมและปวดฟัน
  • โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า เป็นอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของประสาทสมองเส้นที่ 5 ที่เลี้ยงบริเวณใบหน้าและศีรษะ ซึ่งอาจทำให้มีอาการเหมือนการปวดฟันได้
  • หลังจัดฟัน อาการเจ็บฟันหลังจากใส่เครื่องมือจัดฟันเกิดจากการที่หลอดเลือดถูกกด จากแรงที่ดันฟันซึ่งเป็นการเริ่มต้นของขบวนการทำให้ฟันเคลื่อนที่ ซึ่งอาการนี้ไม่ถือว่าผิดปกติ และจะหายเองใน 3-5 วัน

แก้ปวดฟันเบื้องต้นได้อย่างไร

1. ทำความสะอาดฟันและช่องปากอย่างละเอียด

เป็นวิธีที่ง่ายและควรทำก่อนจะใช้วิธีอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่สิ่งสกปรกหรือเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน หลังจากแปรงฟันและใช้น้ำยาบ้วนปากทำความสะอาดแล้ว เราควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันแต่ละซี่อีกครั้ง จากนั้นให้บ้วนปากและกลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เศษอาหารหลุดออก

2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ปวดฟัน

เป็นอีกวิธีที่ง่ายอีกเช่นกัน เพียงงดสิ่งกระตุ้นที่มีผลทำให้ปวดฟันหรือทำให้ประสาทฟันบาดเจ็บมากขึ้น หรือพูดง่ายๆคือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดฟัน เช่น อาหารที่มีความเย็นจัดหรือร้อนจัดจนกระตุ้นอาการปวดฟัน นอกจากนั้นยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัดหรือหวานจัดอีกด้วย

3. ประคบร้อน-เย็น

วิธีประคบเย็น คือการนำผ้าสะอาดมาห่อน้ำแข็งและทำการประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10 – 15 นาที จะช่วยห้ามเลือดกรณีที่ปวดฟันและมีเลือดออกตามไรฟันร่วมด้วย ส่วนวิธีประคบร้อนนั้น คือการนำขนหนูสะอาดชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดเป็นเวลา 10 – 15 นาทีเช่นเดียวกัน เหมาะสำหรับอาการปวดฟันมีหนองเกิดขึ้นด้วย ความร้อนจะช่วยระบายหนองออกและช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี

4. ใช้สมุนไพรเพื่อลดอาการปวด 

ภูมิปัญญาชาวบ้านดีดีที่ไม่ควรมองข้าม สามารถใช้สมุนไพรจากรอบๆตัว เช่น 

  • กานพลู เอาดอกกานพลูมาเคี้ยวและอมค้างไว้บริเวณที่ปวดฟัน ลดอาการปวดได้ 
  • เมล็ดผักชี นำมาต้มเป็นยาบ้วนปากเพื่อลดอาการปวด 
  • กุยช่าย นำเมล็ดมาคั่วแล้วบดให้ละเอียด ละลายกับน้ำมันยางชุบสำลียัดฟันที่ปวดทิ้งไว้ 1 คืน
  • ผักบุ้งนา ตำรากให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำส้มสายชู ใช้อมประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนออก
  • มะระ นำรากสดมาตำให้แหลก ใช้พอกฟันซี่ที่ปวด 
  • ว่านหางจระเข้ หั่นว่านออกเป็นชิ้นๆประมาณ  2-3 เซนติเมตร เหน็บไว้ที่ซอกฟันก็ช่วยลดปวดได้เช่นกัน
  • หัวหอม ช่วยฆ่าแบคทีเรียและลดอาการปวด หั่นหัวหอมเป็นชิ้นเล็กๆแล้วแปะไว้ตรงฟันที่ปวด

5. ทานยาแก้ปวด

เป็นวิธีแก้ปวดที่เร็วและง่ายที่สุดอีกวิธีหนึ่ง โดยยาจะเข้าไปในร่างกายและยับยั้งสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการปวด สามารถใช้ยาพาราเซตามอล 500 mg ได้ในผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง เฉพาะเวลาที่มีอาการปวด หากไม่ดีขึ้นอาจจะใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) แทนได้ ทั้งนี้การจะรับประทานยาต่างๆ ควรได้รับการสั่งยาจากทันตแพทย์หรือควรได้รับคำปรึกษาจากเภสัชกรก่อน

หากใครที่กำลังมีอาการปวดฟันอยู่ละก็ ลองสำรวจตัวเองดูว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรและรีบพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา อย่าปล่อยเอาไว้เพราะปัญหาเล็กๆในวันนี้อาจบานปลายเป็นปัญหาใหญ่ในวันหน้าได้ 

นอกจากนี้วิธีแก้ปวดฟันต่างๆ เป็นเพียงการบรรเทาอาการปวดฟันได้เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น หากเพื่อนๆอยากมีสุขภาพปากและฟันที่ดีพร้อมอวดรอยยิ้มสวยๆอย่างถาวรละก็อย่าลืมตรวจสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอนะคะ

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Save 15% off* your first purchase. Hurry, this deal ends soon!

Be the first to know about exclusive offers, and more.

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!

This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.